วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

     


     อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและงดงาม

ผังอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

ประวัติ
     เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะเขมร หรือ กัมพูชา มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัด ซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
     เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย
     ในปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงจัดตั้งถึง 13 ปี ร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519-2532 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน
โบราณสถาน
     ตัวอุทยานตั้งอยู่ฟากทิศตะวันออกของแม่น้ำมูล บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทหินอื่นๆที่มักหันไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ เมืองหลวงในสมัยนั้นของขอม ซึ่งเข้ามาสู้เมืองพิมายทางทิศใต้
สะพานนาคราช
     ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าทางเข้าโคปุระด้านทิศใต้สร้างด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาท กว้าง 4 ม. ยาว 31.70 ม. ยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นตัวนาค ที่ปลายราวสะพานทำเป็นรูปนาคราชชูคอแผ่พังพานเป็นรูปนาค 7 เศียร สะพานนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางเข้าสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาล เชื่อว่าเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ คตินีถือสืบกันมาในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนานิกายมหายาน

สะพานนาคราช

ชาลาทางเดิน
     ก่อสร้างด้วยหินทราย เชื่อมต่อระหว่างซุ้มประตูด้านทิศใต้ของระเบียงคดที่ล้อมรอบปราสาทประธาน โดยทำทางเดินยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร แบ่งเป็น 3 ช่องทางเดิน ผังทำเป็นรูปกากบาท จากการบูรณะพบเศษกระเบื้องมุงหลังคาและบราลีดินเผาจำนวนมาก สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นระเบียงโปร่ง หลังคามุงกระเบื้อง รองรับด้วยเสาไม้

ชาลาทางเดิน

ปราสาทประธาน

     เป็นส่วนสำคัญที่สุดของปราสาทหินพิมาย เป็นปราสาทองค์ใหญ่ สร้างขึ้นราวพุทธศรรตวรรษที่ 16-17 ก่อสร้างด้วยศิลาทรายสีขาวหันหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งแตกต่างจากศาสนสถานแบบขอมในที่อื่นๆ ซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทประธานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ มณฑป และ เรือนธาตุ มีการจำหลักลวดลายประดับตามส่วนต่างๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง มักจำหลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์และเรื่องราวทางพุทธศาสนา ยกเว้นทางด้านทิศใต้ จำหลักเป็นภาพศิวนาฏราช ภายในเรือนธาตุเป็นส่วนสำคัญที่สุดเรียกว่า ห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญ พื้นห้องตรงมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีร่องน้ำมนต์ต่อลอดผ่านพื้นห้องออกไปทางด้านนอก เรียกว่า ท่อโสมสูตร


ปราสาทประธาน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
th.wikipedia.org/wiki/อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

รูปแบบการเขียนอ้างอิงที่ถูกต้อง

รูปแบบการเขียนอ้างอิง
           การอ้างอิง     หมายถึง  การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ในเนื้อหาที่นำมาเขียนเรียบเรียง ปัจจุบันในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ นิยมใช้ คือ
1. การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา ซึ่งมี 2 ระบบ (ส่งศรี ดีศรีแก้ว, 2534 : 78) คือ
     1.1 ระบบนาม - ปี ( Author - date)
            ระบบนาม - ปี เป็นระบบที่มีชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ที่อ้างอิงอยู่ภายในวงเล็บ ดังตัวอย่าง
                    (ชื่อผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่อ้างอิง)
     1.2  ระบบหมายเลข (Number System)  เป็นระบบที่คล้ายคลึงกับระบบนาม - ปี แต่ระบบนี้จะใช้หมายเลขแทนชื่อผู้แต่งเอกสาร
             อ้างอิง มีอยู่ 2 วิธี คือ
             1.2.1 ให้หมายเลขตามลำดับของการอ้างอิง
             1.2.2 ให้หมายเลขตามลำดับอักษรผู้แต่ง
          บรรณานุกรม (Bibliography)  หมายถึง รายการของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ผู้ทำรายงานได้ใช้ประกอบการเขียนรายงาน ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลาย ๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่
ลำดับ ประเภทบรรณานุกรม
1. ตัวอย่าง บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย
2. ตัวอย่าง บรรณานุกรมภาษาอังกฤษ
3. ตัวอย่าง บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์
4. ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ
5. ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากวารสาร
6. ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร
7. ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์
8. ตัวอย่าง บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
9. ตัวอย่าง บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์

1. บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย                
                  แบบ ก              
                  ชื่อ / ชื่อสกุล. / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /
                   / / / / / / /ปีที่พิมพ์.
                  แบบ ข
                  ชื่อ / ชื่อสกุล. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์/ : / ผู้รับผิดชอบ
                   / / / / / / / ในการพิมพ์.
      ตัวอย่าง
                  แบบ ก
                  กิตติกร  มีทรัพย์. จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์,
                                2544.
                  แบบ ข
                  กิติกร  มีทรัพย์.  (2544).  จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ :
                             ธุรกิจการพิมพ์.        

2. บรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ
                  แบบ ก
                  ชื่อสกุล. / ชื่อต้น / ชื่อกลาง(ถ้ามี). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์./ /เมืองที่พิมพ์/:/ผู้รับผิดชอบ
                  / / / / / / /ในการพิมพ์./ / ปีที่พิมพ์.
                  แบบ ข
                  ชื่อสกุล./อักษรย่อชื่อต้น / อักษรย่อชื่อกลาง(ถ้ามี). / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์.
                  / / / / / / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.
       ตัวอย่าง
                  แบบ ก 
                  Hartley, Eric Key.  Childhood and society.  2 nd ed. New York : Mc Graw -
                               Hill, 1989.
                  แบบ ข
                  Hartley, E.K. (1989). Childhood and Society. 2 nd ed. New York : MC Graw -Hill.

3.บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์
                  แบบ ก
                  ชื่อผู้เขียน. / / ชื่อเรื่อง. / / ระดับวิทยานิพนธ์. / / ชื่อเมืองที่พิมพ์ / : / ชื่อมหาวิทยาลัย, /
                   / / / / / / / ปีที่พิมพ์.
                  แบบ ข
                  ชื่อผู้เขีัยน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ระัดับวิทยานิพนธ์, / ชื่อสาขา / คณะ /
                   / / / / / / / ชื่อมหาวิทยาลัย.
       ตัวอย่าง
                  แบบ ก
                  ภัคพร  กอบพึ่งตน.  การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล
                                 นครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.
                                 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.                    
                  แบบ ข
                  ภัคพร  กอบพึ่งตน.  (2540).  การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล
                               นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชา
                               การบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.      
                      
4. บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ 
                  แบบ ก 
                  ชื่อผู้เขียน./ / "ชื่อตอนหรือบทความ" / ใน / ชื่อหนังสือ. / / หน้า / เลขหน้า. / / ชื่อบรรณาธิการ
                   / / / / / / / (ถ้ามี)./ / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /ปีที่พิมพ์.
                  แบบ ข
                  ชื่อผู้เขีน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อบทความ. / / ใน / ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ)(ถ้ามี). / /
                   / / / / / / / ชื่อหนังสือ. / / (หน้า / เลขหน้า). / / เมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.
     ตัวอย่าง
                  แบบ ก
                  สมจิต   หนุเจริญกุล  และ  ประคอง  อินทรสมบัติ.  "การประเมินผลการพยาบาล"  ใน
                                  เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและกระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8-15.
                                  หน้า 749 - 781.  มยุรา  กาญจนางกูร, บรรณาธิการ.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
                                  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.
               
                  แบบ ข
                  สมจิต  หนุเจริญกุล  และ  ประคอง  อินทรสมบัติ. (2536).  การประเมินผลการพยาบาลใน
                                 ใน มยุรา  กาญจนางกูร (บรรณาธิการ).  เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและ
                                  กระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8 - 15.  (หน้า 749- 781). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
                                  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

5. บรรณานุกรมบทความจากวารสาร
                แบบ ก
                ชื่อผู้เขียน. / / "ชื่อบทความ" / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่) / : / เลขหน้า; /
                / / / / / / / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
               แบบ ข
               ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อบทความ. / / ชื่อวารสาร. ปีที่หรือเล่ม(ฉบับที่), /
               / / / / / / /เลขหน้า.
    ตัวอย่าง
               แบบ ก 
               วิทยาคม  ยาพิศาล.  "การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตาม
                              แนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณภาพ"  กรมวิทยาศาสตร์การ
                              แพทย์.  46(3) : 142 - 153 : กรกฎาคม - กันยายน 2547.
               แบบ ข
               วิทยาคม  ยาพิศาล.  (2547,กรกฏาคม - กันยายน). การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยา-
                              ศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตามแนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณ
                              ภาพ.  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 46(3), 142 - 153.

6.บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร
                แบบ ก
                ชื่อผู้เขียน. / /"ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์" / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่) / :
                / / / / / / /เลขหน้า ; / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
                แบบ ข 
                ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, วัน / เดือน). / / ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์. / / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือ
                / / / / / / /เล่มที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.
     ตัวอย่าง 
               แบบ ก 
               วิทยา  นาควัชระ.  "คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว" สกุลไทย.  40(2047) :
                           191 - 192 ; 26 ตุลาคม 2544.
               แบบ ข
               วิทยา  นาควัชระ.  (2544, 26 ตุลาคม).  คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว.
                            สกุลไทย. 40(2047), 191 - 192.

7.บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์
               แบบ ก 
               ชื่อผู้เขียนบทความ. / / "ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์" /ชื่อหนังสือพิมพ์. / / วัน / เดือน/
               / / / / / / /ปี. / / หน้า / เลขหน้า.
               แบบ ข
               ชื่อผู้เขียนบทความ. / /(ปี, / วัน / เดือน). / /ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์./ / ชื่อหนังสือ
               / / / / / / / พิมพ์, / หน้า / เลขหน้า
      ตัวอย่าง
               แบบ ก
               นิติภูมิ  เนาวรัตน์.  "เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู" ไทยรัฐ.  5 มิถุนาน 2546.
                            หน้า 2.
                แบบ ข 
                นิติภูมิ  เนาวรัตน์.  (2546, 5 มิถุนายน). เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู. ไทยรัฐ,
                             หน้า 2.

8.บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
                แบบ ก 
                ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ./ / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ / ชื่อเมือง / : /
                 / / / / / / / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ, / ปีที่จัดทำ.
               แบบ ข
                ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ. / / (ปีที่จัดทำ). / / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ /
                 / / / / / / / ชื่อเมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ.
     ตัวอย่าง
                แบบ ก 
                สายหยุด  นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย.  ประเด็นปัญหาการวิจัยทางการพยาบาลคลินิก.
                               [เทปโทรทัศน์].   ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537.
                แบบ ข 
                สายหยุด  นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย. (2537). ประเด็นปัญหาการวิจัยางการพยาบาลคลินิก.
                              [เทปโทรทัศน์].  ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

9.บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
     9.1 ฐานข้อมูล ซีดี - รอม
                 แบบ ก 
                 ผู้แต่ง. / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสือ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / /
                  / / / / / / / เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ.
                 แบบ ข 
                 ผู้แต่ง./ / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / /
                 / / / / / / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ.
      ตัวอย่าง
                แบบ ก
                นพรัตน์  เพชรพงษ์.  จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร.
                              [ซีดี - รอม].  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.  เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย
                              เชียงใหม่, 2545.  สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แผ่นที่ 3, 2547.
                แบบ ข
                นพรัตน์  เพชรพงษ์.  (2545).  จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร.
                              [ซีดี - รอม].  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.  สาขาวิชาการบริหารการ
                              พยาบาลบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูล
                              วิทยานิพนธ์ไทยแผ่นที่ 3, 2547.
9.2 ฐานข้อมูลออนไลน์
                 แบบ ก
                 ผู้แต่ง./ / ชื่อเรื่อง./ / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / /
                                เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน / ปี).
                 แบบ ข 
                 ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/ วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียด
                                ทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ. / /
                                (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน /ปี).
       ตัวอย่าง
                  แบบ ก
                  พิมลพรรณ  พิทยานุกูล.  วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http :
                                  / / www.lib.buu.ac.th.  (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546).
                   เรวัติ  ยศสุข.  "ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย."  ฉลาดซื้อ.  [ออนไลน์]. 6(6) ;
                               กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2546.  เข้าถึงได้จาก : http : / /                                                        www.kalathai.com/think/view_hot. ?article_id
                               = 16.  (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547)
                   แบบ ข 
                   พิมลพรรณ   พิทยานุกูล.  วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http : / /
                                 / / www.lib.buu.ac.th.  (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546).
                   เรวัติ  ยศสุข.  (2546,กุมภาพันธ์ - มีนาคม).  "ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย."  ฉลาดซื้อ.
                                 [ออนไลน์]. 6(6) เข้าถึงได้จาก : http : / / www.kalathai.com/think/view_hot.
                                 ? article_id = 16.  (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547).


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.lib.nu.ac.th/nulibnet/index.php?topic=178.0

การเขียนรายงานที่ดีและถูกต้อง

ความหมายของรายงาน
        รายงาน  คือ  การเขียนเล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นหรือได้กระทำมาแล้ว   เช่น  การค้นคว้า ทางวิชาการ  การไปศึกษานอกสถานที่  การไปพักแรมค่ายเยาวชน  การประชุมกลุ่ม  การประสบเหตุการณ์ที่สำคัญ  เป็นต้น
        ลักษณะของรายงานคล้ายย่อความ คือเก็บเฉพาะข้อความสำคัญแต่อาจ เพิ่มเติมรายละเอียดบางอย่างได้ตามสมควร แบบการเขียนรายงานไม่มีข้อกำหนดตายตัว  เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย  อาจกำหนดตามแบบของแต่ละสถาบัน


ส่วนต่าง ๆ ของรายงาน  มี  3  ส่วน  ดังนี้
        1.  ส่วนหน้า  ประกอบด้วย  หน้าปก  ใบรองปกหน้า  (กระดาษเปล่า)  หน้าปกใน  หน้าคำนำ  หน้าสารบัญ                                       
        2.  ส่วนกลาง  ประกอบด้วย  เนื้อเรื่อง  เชิงอรรถ
        3.  ส่วนท้าย  ประกอบด้วย  บรรณานุกรม  ภาคผนวก  ใบรองปกหลัง (กระดาษเปล่า)  ปกหลัง
การเขียนส่วนต่าง ๆ ของรายงานแต่ละส่วน
        1.  การเขียนปกรายงานและการเขียนหน้าปกใน
             1.1  การเขียนปก  ให้เขียนชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน  กลางหน้ากระดาษ  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน
             1.2  การเขียนหน้าปกในให้เขียนโดยแบ่งเป็น  3  ส่วน  ดังนี้
                    ส่วนบน  ให้เว้นระยะ  2  นิ้ว  จากขอบกระดาษบนถึงบรรทัดแรกของรายงาน และเขียน ชื่อเรื่องของรายงาน  ใส่เฉพาะชื่อเรื่องที่เขียนรายงาน  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง 
                    ส่วนกลาง  เว้นจากส่วนบนลงมาประมาณ  2  บรรทัดใส่คำว่าโดย  และชื่อผู้เขียนรายงาน ไม่ต้องใส่คำว่า  ผู้เขียนรายงาน
                    ส่วนล่าง  ให้เว้นระยะ  1  นิ้ว  จากขอบกระดาษล่างถึงบรรทัดสุดท้ายของส่วนล่าง  บรรทัดแรกของส่วนล่างระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาใด ชั้นอะไร ภาคเรียนที่เท่าใด ปีการศึกษาใด  ใครเป็นครูผู้สอน


  2.  การเขียนคำนำ
             การเขียน คำนำอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  นิ้ว ผู้เขียนรายงานจะระบุวัตถุประสงค์ ขอบเขตของเนื้อเรื่อง   หรือแนวการค้นคว้า   และคำขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือให้ การค้นคว้ารวบรวม และเรียบเรียงรายงานนั้นให้สำเร็จลงด้วยดี เมื่อหมดข้อความแล้วลงชื่อผู้เขียน วัน  เดือน ปี  ที่เขียน  ถ้าเป็นรายงานกลุ่มเขียนคำว่า คณะผู้จัดทำ หน้าคำนำมักนิยมใส่เลขหน้าในวงเล็บไว้ด้านล่าง


3.  การเขียนสารบัญ
             การเขียน  สารบัญ”  ผู้เขียนรายงานจะแบ่งเป็นบท  เป็นตอนระบุเนื้อเรื่องที่ปรากฏในรายงาน เรียงตามลำดับ การเว้นระยะในการเขียนจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  นิ้ว  และข้อความในสารบัญ จะอยู่ห่างจากริมซ้ายของกระดาษเข้าไป  1.1  นิ้ว  เริ่มตั้งแต่ คำนำ  บท  และ ชื่อของบท จนถึงส่วนท้าย คือบรรณานุกรม และภาคผนวก เลขหน้าทางด้านขวามือจะอยู่ห่างจากขอบขวาของกระดาษ 1.1 นิ้ว ผู้เขียนรายงานต้องทำรายงานเรียบร้อยแล้วจึงจะระบุเลขหน้าได้ว่า บทใด  ตอนใด  อยู่หน้าใด


การนำบัตรข้อมูลที่บันทึกตามโครงเรื่องมาเขียนเนื้อหาของรายงาน
        การเขียนเนื้อเรื่อง  เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด   เพราะผลการค้นคว้ารวบรวมทั้งหมดที่บันทึก ลงในบัตรบันทึกข้อมูลจะนำมาเรียบเรียงไว้ในส่วนนี้ เรียงตามลำดับโครงเรื่องที่ปรากฏในสารบัญ ครอบคลุมตั้งแต่บทแรกถึงบทสุดท้าย ในหน้าแรกของเนื้อเรื่องไม่ต้องใส่เลขหน้าเว้นจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมา 2 นิ้ว  ไว้กลางหน้ากระดาษ   ทุกครั้งที่ขึ้นบทใหม่ไม่ใส่เลขหน้าเฉพาะหน้านั้นแต่ให้นับหน้าด้วย การเว้นระยะจากขอบล่างขึ้นมา  ให้เว้น  1 นิ้ว  จากขอบซ้ายของหน้ากระดาษเข้ามาเว้น  1.5  นิ้ว  จากขอบขวาของหน้ากระดาษเข้ามา  เว้น  1 นิ้ว  ส่วนการย่อหน้าทุกครั้งให้เว้น ช่วงตัวอักษร  เขียนตัวที่  7



การทำบรรณานุกรมท้ายเล่ม
        การลงบรรณานุกรม  หากมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้ลงภาษาไทยก่อน  เรียงตามลำดับประเภท  และในแต่ละประเภทเรียงตามลำดับอักษรผู้แต่ง   หรือเรียงตามลำดับอักษรรวมกันไม่แยกประเภท




ขอขอบคุณข้อมูลจาก         
http://www.bangkapi.ac.th/MediaOnLine/weerawanWMD/unit6_part16.htm