สถานการณ์ก่อนการครองราชย์
หลังจากความระส่ำระสายของราชวงศ์กอญัร
เปอร์เซียได้ตกอยู่ภายใต้ของมหาอำนาจต่างประเทศ
โดยเฉพาะรัสเซียและอังกฤษตั้งแต่ในรัชสมัยของฟัฏอาลี ชาห์
ชาห์องค์ที่สองแห่งราชวงศ์กอญัร ได้ทำสงครามกับรัสเซียถึง 2 ครั้ง
และต้องเสียดินแดนแถบเทือกเขาคอเคซัสทั้งหมดแม้แต่ประเทศอังกฤษมีผลประโยชน์จำนวนมากในเปอร์เซียอย่างการขุดเจาะน้ำมันที่ขุดพบในคริสต์ศตวรรษที่
19 วัฒนธรรมตะวันตกได้หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศจำนวนมากช่วงสงครามโลกครั้งที่
1 (ค.ศ. 1914 - 1918) เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของเปอร์เซีย
เนื่องจากตกอยู่ภายใต้อำนาจของมหาอำนาจตะวันตกหลายประเทศ ทั้งรัสเซีย, อังกฤษ, ออตโตมัน, เยอรมัน
และสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดกระแสต่อต้านที่กว้างขวางของประชาชนชาวเปอร์เซีย
เพื่อปกป้องผลประโยชน์และเอกราชของประเทศ
ท่ามกลางความระส่ำระสายทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน
จนเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921
เรซา ข่าน ผู้บัญชาการกองพันน้อยคอสแซคได้นำกองทัพบุกเข้าเมืองหลวงได้ยึดอำนาจและทำการรัฐประหารหลังการรัฐประหารพระเจ้าอะหมัด
ชาห์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์กอญัรได้แต่งตั้งนายตะบาตะบาอี
เป็นนายกรัฐมนตรี และเรซา ข่าน เป็นนายกรัฐมนตรีกระทรวงสงคราม
ในปี ค.ศ. 1923 พระเจ้าอะหมัด
ชาห์ได้เสด็จไปประทับในยุโรปและไม่เดินทางกลับมายังอิหร่านเลยเรซา ข่าน
อดีตรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม
ได้ยึดอำนาจจากราชวงศ์กอญัรและประกอบพิธีราชาภิเษกเป็นกษัตริย์เป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์ปาห์ลาวี
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1925และได้เปลี่ยนชื่อประเทศจากเปอร์เซียเป็นอิหร่านอย่างเป็นทางการในปี
ค.ศ. 1934
พระเจ้าอะห์มัดชาห์กอญัร
( องค์กลาง )
ครองราชย์
เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ได้ประทุขึ้น กองทัพพันธมิตรจึงได้ตัดสินใจบุกอิหร่าน
ซึ่งขณะนั้นอิหร่านมีความสัมพันธ์อันดีกับเยอรมนีโดยกองทัพอังกฤษได้บุกยึดภาคใต้ของอิหร่าน
และกองทัพรัสเซียได้เข้ายึดทางตอนเหนือของอิหร่าน
ประเทศอิหร่านจึงถูกปกครองโดยกองทัพสัมพันธมิตร
กษัตริย์เรซาจึงถูกบีบบังคับให้สละราชสมบัติ เพื่อให้พระโอรสองค์ใหญ่คือ โมฮัมหมัด
เรซา ข่านขึ้นเป็นกษัตริย์แทน ประเทศอิหร่านหลังจากนั้นจึงมีความสัมพันธ์อันดีประเทศตะวันตก
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
ชาห์เรซากับพระราชวงศ์ปาห์ลาวี
ใน ค.ศ. 1967
พระราโชบาย
ในปี ค.ศ. 1942
อิหร่านได้สัญญาไตรมิตรกับอังกฤษและรัสเซีย โดย 2
ประเทศรับรองร่วมกันในการเคารพบูรณภาพในดินแดน อธิปไตย
และเอกราชทางการเมืองของอิหร่านประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้ถอนกำลังของตนออกจากอิหร่านเมื่อเดือนมีนาคม
ค.ศ. 1946
แต่กองทหารโซเวียตยังคงอยู่อิหร่านจึงได้ร้องเรียนต่อสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
โซเวียตจึงยอมถอนทหารออกไปในเดือนพฤษภาคมในปีเดียวกัน
ในปี ค.ศ. 1951
เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนอิหร่านกำลังตื่นตัวเรื่องชาตินิยม ในพฤษภาคมปีเดียวกันนั้นเอง
ดร.มุฮัมหมัด มูซัดเดก
ผู้นำคนหนึ่งในขบวนการชาตินิยมอิหร่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีหลังจากนั้นนายมูซัดเดกได้ดำเนินการยึดบริษัทน้ำมันแองโกล-อิหร่านออยล์ซึ่งเป็นของอังกฤษเป็นของรัฐทำให้ต่างชาติมีมาตรการตอบโต้บอยคอตน้ำมันอิหร่านในวันที่
22 ตุลาคมปีเดียวกัน รัฐบาลอิหร่านได้ประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษ
ขณะเดียวกันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มปั่นป่วน และเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว
และเกิดความวุ่นวายมากขึ้น
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1953
ชาห์และราชินีได้เสด็จออกนอกประเทศ 3 วันหลังจากนั้นนายพลซาเฮดีประกาศตนเป็นนายกรัฐมนตรีและเข้าควบคุมอำนาจมูซัดเดก
และคณะรัฐบาลของเขาถูกจับกุม
ชาห์เสด็จกลับอิหร่านและทำการแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีนโยบายนิยมตะวันตกอิหร่านได้ทำการเปิดสัมพันธไมตรีกับการทูตกับอังกฤษใหม่อีกครั้ง
และมีการเจรจาตกลงกับบริษัทน้ำมันอังกฤษและสหรัฐอเมริกาและนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955
เป็นต้นมา พระเจ้าชาห์ได้เริ่มมีบทบาทในการบริหารประเทศมากขึ้น
และพาประเทศเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
การปฏิวัติขาว
ในปี ค.ศ. 1963
ชาห์ได้เริ่มโครงการสำคัญหลายอย่างเพื่อพัฒนาอิหร่านให้ก้าวหน้า อาทิเช่น
การปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเลือกตั้ง การให้สิทธิแก่สตรี การตั้งหน่วยการศึกษา
การจัดตั้งหน่วยอนามัย การพัฒนาการเกษตร การโอนป่าเป็นของรัฐเป็นต้น
ซึ่งรัฐบาลอิหร่านเรียกโครงการเหล่านี้ว่า "การปฏิวัติขาว"
เพราะเป็นการปฏิวัติที่ไม่เสียเลือดเนื้อซึ่งนโยบายนี้เป็นนโยบายที่ได้รับแนวคิดมาจากรัฐบาลอเมริกายุคจอห์น
เอฟ. เคนเนดี ซึ่งต้องการให้รัฐบาลอิหร่านมีฐานอำนาจที่กว้างขึ้น
มีประสิทธิภาพและได้รับความนิยมมากขึ้น และมีคอรัปชั่นน้อยกว่ายุคปี 1950 ที่ผ่านมานโยบายนี้ใช้วิธีสร้างประชานิยมโดยการปฏิรูปที่ดินเป็นหลัก
โดยให้ ดร.ฮัสซัน อาร์ซันจานี (Dr. Hassan Arsanjani) และรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรเป็นผู้เริ่มต้น
แต่พอทำไปแล้ว ทั้งสองคนได้รับความนิยมสูงมาก ชาห์จึงทรงปลด ดร. อาร์ซานจานิ
ออกจากตำแหน่งและทรงถือเป็นพระราชกรณียกิจของพระองค์เองชาห์ได้ทรงปรับโครงการปฏิรูปที่ดินที่ริเริ่มโดย
ดร. อาร์ซานจานิ
ใหม่โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างประชานิยมในพระองค์เองรวมทั้งรัฐบาลของพระองค์
การปรับใหม่นี้มีโครงการที่เสนอรวม 6 โปรแกรมด้วยกัน
ซึ่งเรียกว่าการปฏิวัติขาว ได้แก่
1. ให้มีการปฏิรูปที่ดิน
2. ขายโรงงานที่รัฐบาลเป็นเจ้าของเพื่อนำเงินมาปฏิรูปที่ดิน
3. ออกกฎหมายเลือกตั้งใหม่ที่ให้สิทธิสตรีในการออกเสียง
4. จัดให้ป่าไม้เป็นสมบัติของชาติ
5. ตั้งองค์กรเพื่อการอ่านออกเขียนได้โดยเฉพาะเพื่อการสอนหนังสือในชนบท
6. ร่างแผนการในการให้คนงานมีส่วนแบ่งในผลกำไรจากอุตสาหกรรม
จุดจบของระบอบชาห์
การประท้วงต่อต้านชาห์
แต่การถูกเนรเทศไปอยู่อิรักครั้งนี้
แต่ก็ไม่ทำให้ประชาชนลืมบุรุษที่มีนามว่า อยาตุลเลาะห์ โคมัยนีได้เลย
เขายังติดต่อกับนักศึกษาประชาชนอยู่ตลอด
และมีการให้ความคิดเห็นต่อต้านการทำงานของรัฐบาลอยู่บ่อยครั้ง
การเมืองในอิหร่านเองก็ยังไม่นิ่ง นักศึกษาประชาชนยังชุมนุมระลึกถึงเหตุการณ์ 15 กอร์ดัด 1342 ทุกปีจนในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1978 หนังสือพิมพ์อิตติลาอัต (Ittila’at)
ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์กระบอกเสียงของรัฐบาล ประณามโคมัยนีว่า
เป็นผู้ทรยศต่อชาติ เรื่องนี้ทำให้วันต่อมานักศึกษาและประชาชนในเมืองกุม (Qom)
ซึ่งเป็นเมืองที่โคมัยนีเคยอาศัยอยู่ตั้งแต่เด็ก
ได้ออกมาประท้วงรัฐบาลอย่างรุนแรงการปราบปรามการประท้วงนี้ทำให้สูญเสียชีวิตมากมายอีกครั้ง
กลายเป็นแรงกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิวัติอย่างต่อเนื่องตลอดปี
โดยมีเป้าหมายเพื่อขับไล่ชาห์และราชวงศ์ปาห์ลาวีออกจากราชบัลลังก์
และให้สถาปนารัฐบาลอิสลามขึ้นแทน
แม้ว่าโครงการของชาห์จะได้รับการยอมรับในระยะแรก ซึ่งทำให้อิหร่านเจริญขึ้น
แต่ก็ทำให้ประชาชนไม่พอใจ และลุกฮือต่อต้านชาห์เนื่องจากผลจากการปฏิวัติขาว คือ
คนในราชวงศ์และข้าราชบริพารใกล้ชิดได้รับที่ดินมหาศาล การมาของ บาร์ ไนต์คลับ
หนังสือโป๊หลังไหลเข้ามา
ทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายศาสนาไม่พอใจอย่างยิ่งนอกจากนี้ผลประโยชน์จากการพัฒนาประเทศกลับตกอยู่ในตระกูลคนรวยเพียงไม่กี่ตระกูล
รวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์และเชื้อพระวงศ์ของชาห์กลับมีธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่บรรดาบริษัทต่างชาติต่างก็เชื้อเชิญพระราชวงศ์และข้าราชบริพารชั้นสูงที่มีอำนาจการเมืองและการทหารเข้าเป็นคณะกรรมการในบริษัทของตนด้วยทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้น
แต่ชาวอิหร่านส่วนใหญ่กลับมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากไร้การศึกษา
อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ขาดแคลนยารักษาโรค
รวมไปถึงนโยบายของชาห์ที่ทรงสนับสนุนชาติอิสราเอลด้วย
ด้วยเหตุที่ประชาชนต่อต้านนโนบายของพระองค์ ชาห์จึงตั้งตำรวจลับ
"ซาวัค" โดยทำหน้าที่คล้ายตำรวจเกสตาโปของเยอรมนีคอยแทรกซึมในวงการต่างๆ
เพื่อจับกุมฝ่ายตรงข้ามของพระองค์ โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา อาจารย์
นักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ซาวัคขึ้นชื่อในการจับกุม และทรมานอย่างทารุณ
เป็นที่หวาดกลัวของประชาชน
แต่ก็ไม่อาจปิดกั้นการเดินขบวนประท้วงที่เกิดในเวลาต่อมาได้
การปฏิวัติอิสลาม
ความไม่พอใจของประชาชนเริ่มถึงจุดระเบิดเมื่อวันที่
19 สิงหาคม ค.ศ. 1978
ซึ่งตรงกับเดือนรอมฎอน ได้เกิดเหตุไฟไหม้รุนแรงในโรงภาพยนตร์ที่เมืองอะบาดาน
มีผู้เสียชีวิต 387
คนรัฐบาลได้ออกข่าวว่าพวกศาสนานิยมหัวรุนแรงเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง
ทว่าเมื่อตำรวจไม่สามารถหาผู้กระทำผิดได้ก็ทำให้ประชาชนเคียดแค้นรัฐบาล
และเกิดการประท้วงตามเมืองต่างๆส่วนคู่ปรับของชาห์คืออยาตุลเลาะห์ โคมัยนี
แม้จะถูกเนรเทศไปยังประเทศอิรัก 12 ปี
และภายหลังถูกรัฐบาลอิรักขอร้องให้ออกไปนอกประเทศ
โคมัยนีจึงได้อพยพไปอยู่ฝรั่งเศสแต่โคมัยนีก็ใช้การอัดเสียงใส่เทปคาสเซตได้ทำการอัดซ้ำและทำการเผยแพร่แก่นักศึกษาประชาชน
และลุกลามถึงนักศึกษาอิหร่านในต่างประเทศด้วย
หลังโศกอนาฏกรรมที่เมืองอะบาดาน
ประชาชนในเตหะรานได้รวมกันประท้วงชาห์ เผาธงชาติ ถือป้ายข้อความ "แยงกี้
โกโฮม" "ชาห์ต้องลาออก" และ "โคมัยนีต้องปกครองอิหร่าน"
มีสตรีแต่งกายด้วยชุดดำสวมคลุมศีรษะจำนวนมาเข้าร่วมขบวนด้วยขบวนได้ประทะกับทหาร
ทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บหลายคนหลังจากเหตุการณ์นี้
ก็เกิดเหตุการณ์ประท้วงระลอกแล้วระลอกเล่าตามหัวเมืองอื่น
กรรมกรนับแสนคนนัดหยุดงาน พนักงานรัฐวิสาหกิจ บรรดาครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา
ต่างเข้าร่วมกันประท้วงโคมัยนีเองแม้จะอยู่ต่างประเทศ
แต่ก็ได้เรียกร้องให้มุสลิมทั่วโลกหันมาสนใจการต่อสู้ของประชาชนชาวอิหร่าน
โดยได้กล่าวในระหว่างฤดูกาลประกอบพิธีฮัจญ์
การประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1978
ซึ่งเป็นวันรำลึกถึงการเสียชีวิตของอิหม่ามฮุเซน
วันนั้นประชาชนนับล้านได้ออกมาชุมนุมกันบนท้องถนนและที่สาธารณะ มีการชูรูปโคมัยนี
มีการตะโกนด่าทออเมริกา และเรียกร้องรัฐอิสลาม
อายะตุลลอฮ์
รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ( ผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน )
การประท้วงใหญ่เกิดขึ้นอีกที่เมืองมาชาดมีการลุกฮือเผาบ้านของชาวอเมริกัน
ตลอดจนกิจการต่างๆของชาวตะวันตก ทหารได้สกัดกั้นและทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อย
เหตุการณ์ลุกลามใหญ่โตจนรัฐบาลอเมริกา และยุโรปสั่งให้คนของตนออกจากอิหร่าน ความตึงเครียดที่กดดันทำให้ชาห์ทำตามคำแนะนำของอเมริกา
โดยการเสด็จออกนอกประเทศพร้อมครอบครัว เมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1979โดยที่รัฐบาลของนายชาห์ปูร์
บัคเตียร์ ได้ออกประกาศว่า พระองค์มิได้สละบัลลังก์แต่อย่างใด และแล้วในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ โคมัยนีพร้อมผู้ช่วยราว 500 คน
และนักหนังสือพิมพ์อีก 150 คน ได้โดยสารเครื่องบินโบอิ้ง 747 ของสายการบินฝรั่งเศสกลับสู่อิหร่าน โดยมีประชาชนต้อนรับอย่างเนืองแน่น
แม้ระยะแรกกองทัพบกประกาศว่าพร้อมหลั่งเลือดเพื่อค้ำบัลลังก์ชาห์ หรือหนุนรัฐบาลนายบัคเตียร์
ภายหลังกองทัพบกได้วางตัวเป็นกลาง[12] ประชาชนฝ่ายโคมัยนีจึงได้เข้าควบคุมเตหะรานไว้ได้โดยบุกยึดที่ทำการรัฐบาล
กระทรวงทบวงกรม ตึกรัฐสภา และสถานีตำรวจไว้ได้หมด
ต่อมารัฐบาลที่ได้รับการแต่งตั้งจากโคมัยนีก็เข้ารับหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ภายในประเทศ
และนำอิหร่านเข้าสู่การปกครองของรัฐอิสลามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีผู้นำสูงสุดคือ
อิหม่ามโคมัยนี เรียกว่า ฟากิฮ์ หรือ รอฮ์บัรร์
ถือเป็นผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณมีอำนาจครอบคลุมทั้งการเมืองและการปกครองทั้งหมด
การประท้วงปฏิวัติอิสลาม
หน้าจัตุรัสอิสรภาพในวันอาชูรอ ในปี ค.ศ. 1979
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
th.wikipedia.org/wiki/ประเทศอิหร่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น