ชาวอังกฤษเข้ามากรุงศรีอยุธยาหลังจากฮอลันดา ๘
ปี ลูกัส เอนทูนิส และพวกพ่อค้าชาวอังกฤษทั้งหมดได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเอกาทศรถ
เพื่อถวายพระ ราชสาส์นของพระเจ้าเจมส์แห่งอังกฤษ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๑๕๕
ปรากฏว่าเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก
เพราะนับว่าเป็นประวัติการณ์ใน
ประวัติศาสตร์ของไทยที่พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชสาส์นมา
จึงพระราชทานถ้วยทองและผ้าผืนเล็กๆ ผืนหนึ่งแก่พวกพ่อค้าชาวอังกฤษทุกคน นอกจากนั้
นยังโปรดอนุญาตให้ชาวอังกฤษเข้ามาทำการค้าขายและตั้งหลักแหล่งในประเทศไทยได้
และพระราชทานบ้านหลังหนึ่งให้เป็นสถานีการค้า ลูกัส เอนทูนิส
ได้รับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการของสถานีการค้าอังกฤษที่กรุงศรีอยุธยา
พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามากรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. ๒๒๑๗
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงต้อนรับเป็นอย่างดี ได้พระราชทานใบอนุญาตให้
พ่อค้าอังกฤษซื้อดีบุกตามหัวเมืองปักษ์ใต้ของไทยได้สะดวก
การเข้ามาของพ่อค้าชาวอังกฤษครั้งนี้มีส่วนทำให้ประวัติศาสตร์ไทยแทบจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปเลย
เพราะได้นำฝรั่งชาติกรีกเข้ามาคนหนึ่งและฝรั่งคนนี้เอง นายสมจัย อนุมานราชธน
ได้เขียนไว้ในเรื่อง “การทูตไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา”
ว่า
“...เป็นผู้ที่เปลี่ยนวิถีทางเดินแห่งประวัติศาสตร์ไทย
เป็นผู้สร้างการสัมพันธ์ทางการทูตไปใกล้ต่ออันตรายแห่งการเสียอิสรภาพและอธิปไตย
ยิ่งนัก ฝรั่งชาติกรีกคนนี้ คือ คอนสแตนส์ติน เยราคีส หรือ คอนสแตนส์ติน ฟอลกัน
นั่นเอง”
เจ.แอนเดอร์สัน
เขียนเล่าถึงสภาพของกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้นไว้ว่า
“การค้าที่กรุงศรีในขณะที่พ่อค้าอังกฤษเข้ามานั้น เจริญรุ่งเรืองมาก
จอนเซาท์ รายงานไปยังบริษัทที่เมืองสุห รัตว่า ที่กรุงศรีอยุธยามีเรือของชนชาติต่างๆ เข้ามาค้าขายมิได้ขาด เช่น เรือญี่ปุ่น
เรือญวนจากตังเกี๋ย เรือ
จากเมืองหมาเก๊า เมืองมนิลา เมืองมากัสสาร์ของแขกมักกะสัน เมืองยะโฮร์ เมืองอาจีน และจากที่อื่นๆ อีกหลายแห่ง
เรือฮอลันดานั้นเข้ามาแทบทุกอาทิตย์”
รูปแม่น้ำเจ้าพระยาจากอ่าวไทยถึงอยุธยาแสดง
ที่ตั้งป้อมเมืองบางกอก เขียนขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๒๓๓
ในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชาโดยชาวฮอลันดา
ที่ตั้งป้อมเมืองบางกอก เขียนขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๒๓๓
ในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชาโดยชาวฮอลันดา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
haab.catholic.or.th/history/history04/ayutaya3/ayutaya3.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น